ใครที่กำลังมองหาไม้ไผ่เพื่อใช้ออกแบบและสร้างอาคารที่พัก แต่ไม่รู้ว่าควรเลือกสายพันธุ์ไหนมาใช้ดี วันนี้ Thailandbamboo จะมาแนะนำประเภทของไม้ไผ่และคุณสมบัติของแต่ละพันธุ์ว่าเป็นอย่างไร เพื่อไว้ใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจเลือกไม้ไผ่
ก่อนอื่นเลย ขอเกริ่นที่มาของต้นไผ่กันก่อน ต้นไผ่นั้นเป็นพืชตระกูลใบเลี้ยงเดี่ยวอยู่ในวงศ์ Gramineae หรือพืชตระกูลหญ้าที่สูงที่สุดในโลก โดยมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้เราพบเห็นมากในประเทศแถบทวีปที่ใกล้เคียงกับประเทศไทย ต้นไผ่มีลำต้นขนาดใหญ่ที่สูงตรง ผอมเรียว ซึ่งภายในลำต้นจะเป็นท่อกลวง ตามส่วนของปล้องและส่วนข้อมีลักษณะแบนแต่แข็งแรง เมื่อผ่ากลางลำต้นของไผ่ จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 0.5-20 เซนติเมตรโดยประมาณ เนื่องจากเส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้นจะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของไผ่
ประเภทของไม้ไผ่ (Bamboo) และคุณสมบัติไม้ไผ่ที่พบในไทย เพื่อใช้ก่อสร้างและออกแบบอาคาร
ปัจจุบันทั่วโลกมีต้นไผ่ที่รู้จักกันมีประมาณ 75 สกุล และในประเทศไทยมีไผ่ที่พบอยู่ประมาณ 12 สกุล แยกเป็นชนิดประมาณ 44 ชนิด มาดูกันว่ามีไม้ไผ่อะไรบ้างที่ใช้ในการก่อสร้าง การออกแบบตกแต่งอาคารและรวมถึงงานออกแบบเฟอร์นิเจอร์
- ไผ่ตง (D.asper)
– สกุล : Dendrocalamus
– ลักษณะ : เป็นไผ่ขนาดใหญ่ ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6-12 เซนติเมตร, ไม่มีหนามปล้องยาวประมาณ 20 เซนติเมตร, โคนต้นมีลายขาวสลับเทา มีขนเล็ก ๆ อยู่ทั่วไปของลำ, มีหลายพันธุ์ เช่นไผ่ตงหม้อ ไผ่ตงดำ ไผ่ตงเขียว ไผ่ตงหนู เป็นต้น
– พบได้บริเวณ : นิยมปลูกกันในภาคกลางโดยเฉพาะที่จังหวัดปราจีนบุรีปลูกกันมาก ไผ่ตงมีต้นกำเนิดจากประเทศจีน ชาวจีนนำมาปลูกในประเทศไทยประมาณปี พ.ศ. 2450 ปลูกครั้งแรกที่ตำบลพระราม จังหวัดปราจีนบุรี
– คุณสมบัติที่นำไปใช้ประโยชน์ : ไผ่ตงเป็นไม้ที่ให้ประโยชน์ทั้งในแง่ของการนำไปประกอบเป็นอาหาร และการใช้ลำต้นมาสร้างอาคาร เช่น ใช้เป็นเสาอาคารหรือโครงหลังคา
- ไผ่สีสุก (B.flaxuosa)
– สกุล : Bambusa
– ลักษณะ : มีลำต้นมีเนื้อหนาและเป็นสีเขียวสด, เป็นไผ่ขนาดสูงใหญ่มีเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นประมาณ 7-10 เซนติเมตร, ปล้องยาวประมาณ 4-10 เซนติเมตร, บริเวณข้อมีกิ่งเหมือนหนาม
– พบได้บริเวณ : ไผ่ชนิดนี้มีอยู่ทั่วไปและมีมากในภาคกลางและภาคใต้
– คุณสมบัติที่นำไปใช้ประโยชน์ : เพราะมีความทนทานสูงจึงใช้ทำนั่งร้านในการก่อสร้าง นำมาใช้เป็นนั่งร้านทาสีและนั่งร้านฉาบปูน
- ไผ่ลำมะลอก (D.longispathus)
– สกุล : Dendrocalamus
– ลักษณะ : มีลำต้นสูงประมาณ 10-15 เมตร เป็นสีเขียวแก่ ไม่มีหนาม ข้อเรียบ, จะแตกใบสูงจากพื้นดินประมาณ 6-7 เมตร, ปล้องขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 7-10 เซนติเมตร
– พบได้บริเวณ : มีทั่วทุกภาคแต่ในภาคใต้จะมีน้อยมาก
– คุณสมบัติที่นำไปใช้ประโยชน์ : ไผ่ชนิดนี้เองก็ใช้ลำต้นมาทำนั่งร้านในงานก่อสร้างเหมือนไผ่สีสุก
- ไผ่ป่าหรือไผ่หนาม (B.arumdinacea)
– สกุล : Bambusa
– ลักษณะ : เป็นต้นแก่มีสีเขียวเหลือง เป็นไผ่ขนาดใหญ่ที่มีหนามและแขนง, ปล้องขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 -15 เซนติเมตร
– พบได้บริเวณ : มีทั่วทุกภาคของประเทศ
– คุณสมบัติที่นำไปใช้ประโยชน์ : นำมาใช้ทำโครงบ้านและทำนั่งร้าน
- ไผ่ดำหรือไผ่ตาดำ (B.sp.)
– สกุล : Bambusa
– ลักษณะ : มีลำต้นสีเขียวแก่ ค่อนข้างดำ ไม่มีหนาม, ขนาดเส้นผ่านเส้นศูนย์กลางของปล้องประมาณ 7-10 เซนติเมตร, ปล้องยาว 30-40 เซนติเมตร เนื้อหนา ลำต้นสูง 10-12 เมตร
– พบได้บริเวณ : มีในป่าทึบแถบจังหวัดกาญจนบุรีและจันทบุรี
– คุณสมบัติที่นำไปใช้ประโยชน์ : นำมาใช้ในการก่อสร้างและทำงานจักสาน
- ไผ่เฮียะ (C.Virgatum)
– สกุล : Cephalastachyum
– ลักษณะ : มีลำต้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-10 เซนติเมตร, ข้อเรียบ มีกิ่งก้านเล็กน้อย, เนื้อหนา 1-2 เซนติเมตร, ลำต้นสูงประมาณ 10-18 เมตร, ปล้องยาวขนาด 50-70 เซนติเมตร
– พบได้บริเวณ : มีทางภาคเหนือ
– คุณสมบัติที่นำไปใช้ประโยชน์ : ลำต้นสามารถใช้ทำโครงสร้างอาคาร เช่น เสา โครงหลังคา คาน
- ไผ่รวก (T. siamensis)
– สกุล : Thyrsostachys
– ลักษณะ : มีลำต้นที่เล็ก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.7 เซนติเมตร, สูงประมาณ 5-10 เมตร, ไผ่ประเภทนี้มีลักษณะเป็นกอ
– พบได้บริเวณ : มีมากทางจังหวัดกาญจนบุรี
– คุณสมบัติที่นำไปใช้ประโยชน์ : นำลำต้นมาใช้ทำรั้วและสามารถทำเยื่อกระดาษได้




การใช้งานไม้ไผ่
โดยรวมแล้วคุณสมบัติของไม้ไผ่จะมีเนื้อไม้ที่มีความแข็งแรง มีความยืดหยุ่นแต่น้ำหนักเบา จึงสามารถดัดโค้งดัดงอได้ดี ทำให้นิยมใช้ในงานก่อสร้างและงานเฟอร์นิเจอร์ และแนวโน้มในอนาคตการแปรรูปไม้ไผ่จะเป็นอีกทางเลือกของวัสดุทดแทนไม้จริง เพื่อใช้ตกแต่งอาคารตามบริเวณพื้น ผนัง หลังคาหรือทำเฟอร์นิเจอร์มากขึ้น เราเลยเริ่มเห็นว่าปัจจุบัน ประเภทอาคารที่พักต่างๆ ทั้ง บ้าน, โรงแรม, รีสอร์ท หรือร้านค้าและคาเฟ่เองก็มีการใช้ไม้ไผ่มาสร้างและตกแต่งมากขึ้น




สุดท้ายข้อมูลทั้งหมดนี้ก็หวังว่าจะช่วยให้คุณรู้จักประเภทไม้ไผ่และทราบถึงคุณสมบัติไม้ไผ่ในภาพรวมได้ไม่มากก็น้อย และหากท่านใดต้องการปรึกษาเรื่องการใช้ไม้ไผ่ สามารถติดต่อมาที่ “Thailanbamboo” ได้ตามช่องทางทั้งหมดนี้
Facebook : Thailand Bamboo
Instargram : thailand.bamboo
Line : @thailandbamboo
Mobile : 080-635-6916, 092-324-9924
หรือคลิกแชทด้านขวามือคุณเพื่อเริ่มต้นคุยกับเราได้เลย